ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

((ตะลึง!! 43++++ คดี!! ธรรมกายล่าสุด กับ 7 คำถามประเด็นร้อน!! )) ของกฎหมายไทยที่ทั่วโลกจับตามอง 24 น.?

7 คำถามประเด็นร้อน!! ของกฎหมายไทยที่ทั่วโลกจับตามอง?
รู้ยัง! วัดพระธรรมกายโดนมากกว่า 43+ คดีแล้ว . มีอะไรบ้าง 43 คดี ที่จับยัดให้วัดพระธรรมกาย มี คดี พ.ร.บ.ขนส่ง เช่น รถตู้ รถบัส ที่ขนผู้โดยสารเข้ามาในวัด อ้างว่าเป็นการวิ่งออกนอกเส้นทาง รวมทั้งหมด 19 คดี มีข้อหาบุกรุก โดยการสร้างสะพานข้ามคลอง และถนนต่างๆ รอบวัดพระธรรมกาย รวมทั้งได้นำตู้คอนเทนเนอร์มาปิดไว้ที่ประตู 4 ฝั่งถนนเลียบคลองสาม แนะนำสิ่งกีดขวางมาขวางทางสาธารณะ อ้างว่ามีความผิดอาญา บุกรุก และ พ.ร.บ.ป่าไม้ รวมทั้งหมด 10 คดี การนำสิ่งของมากีดขวางการจราจร และทางสาธารณะ เช่น การนำเสาเข็มมาวางไว้บริเวณถนนเลียบคลองแอน บอกมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจร ป.วิอาญา 229 จำคุก 5 ปี ทั้งหมด 3 จุด 3 คดี คดีทำให้เสียทรัพย์ โดยกล่าวหาว่า มีการนำตะปูเรือใบมาวางไว้บนถนน ทำให้รถของเจ้าหน้าที่ที่ตรวจการรอบๆ วัด ถูกตะปูเรือใบได้รับความเสียหายจำนวน 2 คดี คดีหมิ่นประมาทนายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน ผู้เชี่ยวชาญของศาลยุติธรรม อดีตรองอธิบดีกรมป่าไม้ 1 คดี คดี พ.ร.บ.อาคารชุดจำนวน 7 คดี คดีขุดบ่อบาดาล จำนวน 1 คดี ทั้งหมดเป็น 43 คดี ที่ทางเจ้าหน้าที่พยายามกล่าวหาวัดพระธรรมกาย



ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐตั้งข้อหาดำเนินคดีอาญา โดยไม่ถูกต้องหลักกฎหมาย ใช้กฎหมายผิดพลาดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ จนทำให้ประชาชนกลายเป็นผู้เสียหาย ตกเป็นจำเลยสังคม โดยไม่มีท่าทีต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบในการดำรงชีวิตของประชาชนแต่อย่างใดเลย ทำให้มีข้อสงสัยว่า
1. ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐใช้กฎหมายผิดพลาดที่ต้นทางของกระบวนการยุติธรรม ทำให้ประชาชนกลายเป็นผู้เสียหาย จะเข้าข่ายความผิดมาตรา 157 หรือไม่ ?
2. ถ้าประชาชนผู้เสียหายนั้น โต้แย้งว่าเจ้าหน้าที่รัฐใช้กฎหมายไม่ถูกต้อง ตั้งข้อหาผิดคน รับร้องทุกข์จากผู้ไม่มีอำนาจดำเนินคดี จึงไม่มีอำนาจในการสอบสวน ไม่มีอำนาจสั่งฟ้อง เพราะคำร้องทุกข์ไม่มีผลตามกฎหมาย ประชาชนจะโดนข้อหาขัดขืนการจับกุมของเจ้าพนักงานในมาตรา 138 หรือไม่ ?
3. ถ้าประชาชนผู้เสียหายนั้น ถูกใช้กำลังข่มขืนใจ บีบบังคับให้ต้องจำยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งที่เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีอำนาจสอบสวนและสั่งฟ้องนั้น ประชาชนคนนั้นจะโดนข้อหาสมรู้ร่วมคิดกับเจ้าหน้าที่รัฐทำผิดมาตรา 157 หรือไม่ ?


4. ในกรณีที่ประชาชนผู้เสียหายนั้นเป็นพระสงฆ์ บวชมา 50 พรรษา พิสูจน์บนศาลได้แล้วว่าไม่มีความผิด แต่ถูกจับสึกจากสมณเพศไปก่อนแล้ว ระบบกฎหมายจะคืนความยุติธรรมให้ท่านอย่างไร จะสั่งบังคับคดีอย่างไร จึงจะนำความเสียหายในสมณเพศที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐปล้นชิงไปคืนมาให้ท่านได้ เพราะไม่มีกฎหมายมาตราใดห้ามจับสึกพระ ก่อนศาลสูงจะพิพากษาเป็นอันสิ้นสุดใช่หรือไม่ ?

5. สังคมที่พิพากษาคนอื่นตามการบริโภคข่าวสาร โดยไม่คำนึงถึงหลักกฎหมาย หลักผู้เสียหาย หลักผู้มีอำนาจในการดำเนินคดีของนิติบุคคล จะต้องถูกดำเนินคดีในฐานะผู้สมรู้ร่วมคิดกับเจ้าหน้าที่รัฐในการใช้กฎหมายผิดพลาดด้วยหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่วิพากษ์วิจารณ์ให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายโดยไม่ต้องรับผิดชอบสิ่งใดอย่างนั้นหรือ ?



6. สื่อมวลชนที่ชี้นำสังคมด้วยการผลิตข่าวสารให้ประชาชนบริโภค จะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายในฐานะที่สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้กฎหมายผิดพลาดจนทำให้ประชาชนเป็นผู้เสียหายด้วยหรือไม่ ?
7. หลักกฎหมายพื้นฐานระบุว่า การใช้กฎหมายจะต้องไม่ตีความเกินขอบเขตข้อบังคับในกฎหมาย ซึ่งจะกลายเป็นการใช้อำนาจเกินกรอบที่กฎหมายอนุญาต การที่เจ้าหน้าที่รัฐตั้งข้อหาดำเนินการสอบสวนโดยไม่มีอำนาจสอบสวนและไม่มีอำนาจสั่งฟ้อง ตามตัวบทกฎหมายนั้นมีโทษถึงขั้นใด ถ้าไม่ถึงกับให้ออกจากราชการ แต่สามารถถอดถอนใบประกอบวิชาชีพด้านกฎหมายได้หรือไม่ และในระยะยาวจะรักษามาตรฐานการตีความตัวบทกฎหมายและการไม่ใช้อำนาจเกินกรอบกฎหมายได้อย่างไร ?
นี่เป็นคำถามจากนักศึกษานอกโรงเรียนกฎหมายที่อยากให้สังคมช่วยกันหาคำตอบด้วย
Cr : Ptt Cnkr


ไม่มีความคิดเห็น