ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

ดีเดย์ 13-16 ธ.ค.ลุยจับเจ้าอาวาส "จับได้ต้องจับสึก ฟ้องโดยไม่ต้องมีผู้ต้องหาก็ได้" ??


ดีเดย์ 13-16 ธ.ค.ลุยจับเจ้าอาวาส

 "จับได้ต้องจับสึก ฟ้องโดยไม่ต้องมีผู้ต้องหาก็ได้" ??





1. เขาบอกท่านว่าจะจับสึกเจ้าอาวาสเหรอ ?
...
 คำตอบคือ บอกครับ ประกาศออกสื่ออย่างชัดเจนเป็นเดือนๆ ทั้ง พล.เอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา และคุณไพบูลย์ นิติตะวัน ชี้นำตลอดเวลา ถึงขั้นหลุดปากว่าถ้าจับสึกไม่ได้ก็อยู่ไม่ได้ มีหลักฐานชัดเจนลองหาดูในกูเกิ้ล
2. ปัญหาเกิดจากเขาเรียกไปให้ปากคำ แต่ไม่ยอมไป เขาเลยออกหมายจับ ?
 เรื่องนี้เข้าใจผิดนะครับ เพราะเมื่อกลางปี 2558 หลวงพ่อเคยให้ปากคำแก่ดีเอสไอในฐานะพยานแล้วนะ ซึ่งต่อมาเจ้าทุกข์คือสหกรณ์ได้ถอนไปฟ้อง ซึ่งตรงนี้คดีจบแล้ว เพราะตาม ป.อาญา มาตรา 5 (3) ผู้ที่มีอำนาจในการดำเนินการฟ้องร้องแทนนิติบุคคลคือผู้จัดการเท่านั้น สมาชิกไม่มีสิทธิ์ ทีนี้เมื่อผู้จัดการดำเนินการถอนฟ้องแล้ว ผู้ถือหุ้นหรือสมาชิกจะนำมาฟ้องซ้ำอีกไม่ได้ และเจ้าหน้าที่รัฐก็ไม่มีอำนาจสอบสวน และไม่มีอำนาจนำมาฟ้องซ้ำ

แต่พอปี 2559 ดีเอสไอย้อนกลับมาใหม่ แล้วตั้งข้อหาฟอกเงินรับของโจร โดยเป็นการรับแจ้งข้อกล่าวหาจากนายธรรมนูญ ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายแท้จริงตามกฎหมาย แต่ดีเอสไอกลับรับแจ้ง ซึ่งตรงนี้แหละที่ดีเอสไอทำผิดระเบียบ 5 ครั้ง และเป็นที่มาที่ทำให้ลูกศิษย์ไม่ไว้วางใจในเจ้าหน้าที่รัฐ และเรียกร้องความเป็นธรรมมาถึงวันนี้
3. ผิดไม่ผิดแล้ว เรื่องถึงศาลแล้ว ใครช่วยไม่ได้ ?
 เรื่องยังไม่ถึงศาลครับ ยังอยู่ในขั้นตอนสอบสวน ประเด็นคือ การกลับมาตั้งข้อหารอบสองนี่ ดีเอสไอทำผิดหลักกฎหมายถึง 5 เรื่อง
ผิดครั้งที่ 1 ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 87/2506 ผู้ฝากเงินไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีอำนาจฟ้องฐานฉ้อโกงประชาชน
ผิดครั้งที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2515 การรับร้องทุกข์จากผู้ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ คำร้องทุกข์นั้นย่อมไม่มีผลเป็นคำร้อง
ผิดครั้งที่ 3 ตาม ป.วิอาญา มาตรา 39 (2) คดีที่ผู้เสียหายถอนฟ้องไปแล้ว ไม่สามารถนำมาดำเนินการฟ้องใหม่ได้

ผิดครั้งที่ 4 ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 313/2480 เจ้าหน้าที่รัฐออกหมายเรียกและขอออกหมายจับแก่ผู้เจ็บป่วยโดยไม่มีการตรวจสอบความเจ็บป่วย บุคคลนั้นยังไม่ใช่ผู้ต้องหา
ผิดครั้งที่ 5 ตั้งข้อหามูลฐานฟอกเงินจากกรรมเดียวกันเป็น 2 คดี คดีแรกตั้งข้อหายักยอกทรัพย์ แสดงว่าทรัพย์เป็นของนายจ้าง ผู้เสียหายคือสหกรณ์ ซึ่งจะนำมาฟ้องในคดีที่สองคือข้อหาฉ้อโกงประชาชนไม่ได้ เพราะผู้เสียหายคือสหกรณ์ ไม่ใช่ประชาชน ตรงนี้ขัดหลักกฎหมายอย่างแน่นอน






คำถามคือ ดีเอสไอเป็นเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีความรู้ดีทางกฎหมาย แต่ทำไมถึงทำผิดซ้ำซ้อนถึง 5 ครั้ง
 เมื่อนำมารวมกับคำสัมภาษณ์ชี้นำในขณะนั้นว่า "จับได้ต้องจับสึก ฟ้องโดยไม่ต้องมีผู้ต้องหาก็ได้" ของพลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว. ยุติธรรม (ขณะนั้น) และคำสัมภาษณ์ของคุณไพบูลย์ นิติตะวัน ที่ดีเอสไอเชิญมาเป็นที่ปรึกษา มันจึงชัดเจนว่า มีเจตนาแอบแฝงในการตั้งคดีอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
 ในฐานะประชาชนซึ่งไม่มีอำนาจรัฐในมือ มาพบเห็นเรื่องไม่เป็นธรรมแบบนี้ จะให้เขาทำอย่างไร เพราะเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรมอันเป็นที่พึ่งของประชาชนทั้งประเทศ กลับเป็นผู้ทำร้ายประชาชนเสียเอง
Cr : Ptt Cnkr

1 ความคิดเห็น