ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

คดีสหกรณ์ที่มีการแย้งเรื่องความมิชอบด้วยกฎหมาย สามารถพิจารณาได้หลายแง่มุม

คดีสหกรณ์ที่มีการแย้งเรื่องความมิชอบด้วยกฎหมาย สามารถพิจารณาได้หลายแง่มุม

คดีสหกรณ์ที่มีการแย้งเรื่องความมิชอบด้วยกฎหมาย สามารถพิจารณาได้หลายแง่มุม
1. การตั้งข้อหาผิดหลักกฎหมาย
2. การดำเนินคดีผิดขั้นตอนกฎหมาย
3. การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
-----------------------------------------------------
1. พิจารณาจากการตั้งข้อหาผิดหลักกฎหมาย คดีพิเศษแรก (146/2556) 
- ดีเอสไอดำเนินคดีคุณศุภชัยในข้อหา "ยักยอกทรัพย์นายจ้าง" คดีพิเศษที่สอง (63/2557) 
- ดีเอสไอดำเนินคดีคุณศุภชัยในข้อหา "ฉ้อโกงประชาชน"
ปัญหาก็คือทั้ง 2 คดีนี้ เป็นการตั้งข้อหาจาก
1) บุคคลเดียวกัน
2) กรรมเดียวกัน
3) วาระเดียวกัน 
แต่ทำไมถึงตั้งข้อหาด้วยหลักกฎหมายที่ขัดกัน ? ในคดีการตั้งข้อหายักยอกทรัพย์นายจ้าง แสดงว่าทรัพย์นั้นเป็นของนายจ้าง ผู้เสียหายคือ "สหกรณ์" ประชาชนไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงไม่ใช่การฉ้อโกงประชาชน

เพราะเงินใน "บัญชีของประชาชน" ไม่ได้หายไป ในคดีการตั้งข้อหาฉ้อโกงประชาชน แสดงว่าทรัพย์นั้นเป็นของประชาชน 
ผู้เสียหายคือ "ประชาชน" สหกรณ์ไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงไม่ใช่การยักยอกทรัพย์สหกรณ์
เพราะเงินใน "บัญชีสหกรณ์" ไม่ได้หายไป
จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 คดีนี้ ตั้งข้อหาร่วมกันไม่ได้  ต้องเลือกเอาข้อหาอันใดอันหนึ่ง มิฉะนั้น จะขัดหลักกฎหมาย ขัดกับหลักฐาน เพราะผู้เสียหายเป็นคนละคนกัน
-------------------------------------------------------
2. พิจารณาจากการดำเนินคดีผิดขั้นตอนกฎหมาย 
เนื่องจากการตั้งข้อหาฟอกเงินในคดีสหกรณ์นั้น จะต้องมีการพิสูจน์มูลฐานความผิดจาก คดีฉ้อโกงประชาชนให้สิ้นสุดบนศาลก่อน นั่นคือต้องพิสูจน์บนศาลให้ทราบชัดแล้วว่า เงินที่หายไปนั้น เป็นเงินที่หายไปจาก "บัญชีประชาชน"  ไม่ใช่เงินที่หายไปจาก "บัญชีสหกรณ์" จึงจะเกิดความชัดเจนว่า เงินนั้นได้มาโดย มิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการฉ้อโกงประชาชน

ต่อจากนั้นจึงจะอาศัยคำพิพากษาในฉ้อโกงประชาชนนี้ ไปเป็นมูลฐานความผิดฟ้องในคดีข้อหาฟอกเงินได้ เพราะในการฟ้องข้อหาฟอกเงินนั้นคือการพิสูจน์ว่า เงินที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้น มีการแปรสภาพจากเงินผิดกฎหมาย ให้เป็นเงินถูกกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่พบการแปรสภาพเงินก็ไม่มีความผิดฐานฟอกเงิน
(ดังปรากฏในในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2554 และ 2770/2550 (http://wichianlaw.blogspot.com/2016/04/blog-post_3.html)

จะเห็นได้ว่า การฟ้องข้อหาฟอกเงิน โดยไม่มีคำพิพากษาอันเป็นที่สิ้นสุด ในคดีมูลฐานความผิดนั้น ทำไม่ได้ มิฉะนั้น จะกลายเป็นการดำเนินคดีผิดขั้นกฎหมาย ซึ่งมีโอกาสที่จะเข้าข่ายการทำผิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ฟ้องซ้อน ฟ้องเท็จ ฟ้องเคลือบคลุม ฟ้องผิดคน เป็นต้น
------------------------------------------------
3. พิจารณาจากการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
ผลของการฟ้องข้อหาฟอกเงิน ตามคำชี้นำของนักการเมืองบางกลุ่ม โดยไม่คำนึงถึงหลักกฎหมาย
และระเบียบขั้นตอนนั้น ก็จะนำไปสู่ปัญหาหลายอย่าง
1) ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
2) กลั่นแกล้งประชาชนให้มีความผิด
3) ทำลายความสงบเรียบร้อยบ้านเมือง
4) ทำลายศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
5) ทำลายความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
6) เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
เพราะการกระทำทั้งหมดนั้น ไปเข้าหลักที่ว่า "มีเจตนาตั้งแต่ต้น"  ที่จะทำให้ประชาชน สังคม ระบบราชการ ระบบศาลยุติธรรม การบริหารบ้านเมือง และพระพุทธศาสนาได้รับความเสียหาย คำถามที่ตามมาก็คือ  ความผิดนั้นจะตกอยู่แก่ใคร ?
ประชาชนจะได้รับความยุติธรรมหรือไม่ ?
ความเสียหายทั้งหมดนั้นใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ?
------------------------------------------------------------------

Cr : Ptt Cnkr
ปล.1 เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล
ปล.2 ข้อมูลกฎหมายอ้างอิงจาก :
1] คดีอาญาเสร็จเด็ดขาดในความผิดทีได้ฟ้อง https://www.lawdd.net/getfile…
2] แก้ไขคำฟ้อง คำให้การ https://groups.google.com/forum/#!topic/lawsiam/8t0GL973StY
3] ฟ้องบุคคลอื่นโดยไม่ตรวจสอบ มีความผิดฐานละเมิด http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=11571
4] ฟ้องเท็จเป็นความผิดทันทีที่ยื่นฟ้อง http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=10924
5] ฟ้องละเมิดเรียกค่าสินไหมทดแทน ในความผิดทางอาญาhttp://www.thailawconsult.com/ptukta28.html
6] กฎหมายเกี่ยวกับการละเมิด http://www.lawfirm.in.th/violate.html
7] ความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงิน http://wichianlaw.blogspot.com/2016/04/blog-post_3.html

ไม่มีความคิดเห็น