ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

หัวใจความยั่งยืนขององค์กรคือการคัดกรองคุณภาพของบุคลากร


หัวใจความยั่งยืนขององค์กรคือการคัดกรองคุณภาพของบุคลากร 






การยอมจ่าย 5 แสน เพื่อเข้าไปเป็นนายสิบที่รับเงินเดือนหมื่นห้า คำนวณดูอย่างไรก็ไม่คุ้ม เพราะทำงานราชการตลอดชีวิต ยังเก็บเงินใช้หนี้ไม่หมด แล้วทำไมถึงยังมีคนยอมลงทุนกู้เงินนอกระบบ ยอมเป็นหนี้ห้าแสน เพื่อส่งบุตรหลานเข้ามาเป็นนายสิบด้วยวิธีโกงการสอบ
อย่าลืมว่าตำรวจคือข้าราชการเพียงประเภทเดียว ที่สามารถพกปืนในที่สาธารณะได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีอำนาจกฎหมายในการตั้งข้อหาใครก็ได้อยู่มือ อีกทั้งยังเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรมในการทำสำนวนสอบสวนขึ้นสู่ศาล
ถ้าหากเพียงแค่เริ่มต้นเส้นทางชีวิตราชการ มือก็ไม่สะอาดเสียแล้ว ตลอดชีวิตราชการจะเป็นคนมือสะอาดได้อย่างไร
ถ้าหากคนที่อยู่ต้นทางกระบวนการยุติธรรม ใช้อำนาจเงินซื้อได้ ใช้อำนาจมืดสั่งการได้ ชีวิตของประชาชนตาดำๆ ที่ไม่รู้กฎหมาย ไม่มีทางสู้กับกฎหมายระบบกล่าวหา จะมีความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินได้อย่างไร
เรื่องนี้ไม่ใช่ล้อเล่น เพราะการใช้กฎหมายของตำรวจนั้น มีความสำคัญต่อความสงบสุขของสังคมและประชาชนอย่างยิ่ง
เพราะในสายตาประชาชนนั้น ตำรวจมีความสำคัญต่อประเทศนี้อย่างมาก
1. ตำรวจคือผู้เป็นที่พึ่งในความปลอดภัยของประชาชน
2. ตำรวจคือต้นทางของกระบวนการยุติธรรม
3. ตำรวจคือผู้รวบรวมหลักฐานพยานให้แก่ศาล
4. ตำรวจคือผู้สร้างบรรทัดฐานการใช้กฎหมายไทย
5. ตำรวจคือผู้พิทักษ์สันติราษฎร์สร้างสันติสุขให้สังคมไทย
แต่ถ้าการคัดกรองคุณภาพของบุคลากรในระดับปฏิบัติการมีปัญหา องค์กรตำรวจจะยังคงรักษาศรัทธาที่ประชาชนมอบความไว้ใจให้ได้หรือไม่
เพราะสิ่งที่ตามมาคือ การมอบอำนาจกฎหมายไว้ในมือของบุคลการที่แยกแยะผิดชอบชั่วดีไม่ได้ นั่นคือการทำร้ายประชาชน และทำร้ายองค์กรตำรวจให้ล่มสลายจากศรัทธาของประชาชน
ถ้าผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ กลายเป็นผู้ทำลายสันติสุขอย่างถูกต้องตามกฎหมายเสียเอง การใช้กฎหมายระบบกล่าวหาจะสร้างปัญหาให้แก่สิจริตชนมากมายขนาดไหน กระบวนการยุติธรรมจะดำรงความยุติธรรมไว้ได้อย่างไร
เพราะปัญหาที่จะเกิดเป็นคำถามตามมาก็คือ
1. ประชาชนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่หรือไม่
2. กฎหมายจะถูกใช้ไปในทางกล่าวหาไปก่อนตั้งคดีมั่วๆ โยนขึ้นศาลหรือไม่
3. ข้อมูลการสอบสวนที่นำขึ้นไปสู่ศาลมีความละเอียดรอบคอบต่อชีวิตคนหรือไม่
4. การใช้กฎหมายอย่างไม่รอบคอบ จะสร้างบรรทัดฐานผิดๆ ให้แก่ต้นทางกระบวนการยุติธรรมหรือไม่
5. ถ้าการใช้กฎหมายที่ต้นทางผิด ก็เท่ากับติดกระดุมเม็ดแรกผิด จะทำให้เกิดเป็นความผิดพลาดทั้งกระบวนการยุติธรรมหรือไม่
6. ประชาชนจะต้องตกป็นแพะของกฎหมายระบบกล่าวหาที่ต้นทางมีปัญหาอีกกี่พันคน
7. คดีที่ค้างอยู่บนศาลจะเพิ่มจาก 1.8 ล้านคดี เป็น 60 ล้านคดีหรือไม่
8. บุคลกรตำรวจที่มีอุดมการณ์ ตั้งใจทำงาน ซื่อสัตย์ในอาชีพ รักชีวิตราชการที่บำบัดทุกบำรุงสุขประชาชน จะทนอยู่ในองค์กรที่ถูกทำลายศรัทธาของประชาชนได้หรือไม่
9. ถ้าศรัทธาขององค์กรตำรวจถูกทำลาย ศรัทธาของกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบจะดำรงความเชื่อถือของประชาชนอยู่ได้หรือไม่
10. ถ้าระบบกฎหมายของประเทศไม่น่าศรัทธา ไม่น่าเชื่อถือ ประเทศไทยจะดำรงอธิปไตยความเป็นชาติไทยให้คงอยู่ได้หรือไม่
สิ่งเหล่านี้คือคำถามที่ตามมาเป็นปัญหาลูกโซ่ ซึ่งเกิดจากการไม่คัดกรองคุณภาพบุคลากรใหม่ขององค์กรอย่างเข้มงวด
อย่าลืมว่าข้าราชการตำรวจไม่เหมือนข้าราชการประเภทอื่น เพราะตำรวจคือองค์กรที่เป็นตัวแทนของกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบที่ลงมาอยู่ใกล้ชิดกับปัญหาทุกข์ร้อนของประชาชนเป็นคนแรก
ลองคิดดูว่า ถ้าที่พึ่งของสังคมพึ่งไม่ได้ แล้วยังกลายเป็นอันตรายต่อชีวิตประชาชนเสียอีก ประชาชนจะนอนหลับอย่างเป็นสุขได้อย่างไร
Cr : Ptt Cnkr

ไม่มีความคิดเห็น