ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

‎ฮือฮา‬ ณ ‪วัดอ้อน้อย‬ ประธานเครือข่ายพิทักษ์พุทธ ยื่นสอบ "พระพุทธะอิสระ" ปาราชิก มีคลิป



 29 มิถุนายน 2559  “นายประสิทธิ์ สันจิตร” ทนายความ ในฐานะ “ประธานเครือข่ายพิทักษ์พุทธ” ได้เข้ากราบนมัสการ “พระอธิการศิริชัย สิริโสภโณ” เจ้าอาวาส วัดอ้อน้อย ตำบลห้วยขวาง อำเภอแพงแสน จังหวัดนครปฐม เพื่อขอให้ดำเนินการสอบสวนความผิดทางพระวินัย ตามกฎนิคหกรรม ด้วยข้อกล่าวหา 
 “ต้องอาบัติปาราชิก สิกขาบทที่ ๒” หรือไม่? ต่อ “หลวงปู่พุทธอิสระ” หรือ “พระสุวิทย์ ธีรธัมโม”
  

VDO กดเล่นได้

 จากการที่ศาลแพ่งได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ คดีที่กรมสอบสวน คดีพิเศษ (DSI) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง “หลวงปู่พุทธอิสระ” หรือ “พระสุวิทย์ ธีรธัมโม” และพวก แกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) เรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหาย ๒,๖๖๓,๔๐๙ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี จากกรณีระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ ถึง มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗ ร่วมกันบุกเข้าไปใน อาคาร DSI ถนนแจ้งวัฒนะ แล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สายไฟ กล้องวงจรปิด ที่อยู่ในความครอบครองของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)




 โดยโจทก์ ซึ่งมีสำนักงานคดีแพ่ง สำนักงานอัยการสูงสุด ทำหน้าที่ทนายแผ่นดิน ได้ยื่นฟ้องคดี ต่อศาล เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๗ ทำให้เจ้าหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ไม่สามารถ ปฏิบัติงานได้ โดยระหว่างการชุมนุมมีการตัดสายไฟฟ้าเมนหลัก และทำให้เครือข่าย ระบบอินเทอร์เน็ตกับคอมพิวเตอร์ได้รับความเสียหาย เมื่อศาลได้พิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยแล้ว  จึงมีคำพิพากษาของศาลแพ่งให้ 
 จำเลยที่ ๑ คือ “หลวงปู่พุทธอิสระ” หรือ “พระสุวิทย์ ธีรธัมโม” ให้ต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ ๒ (พล.ต.สมเกียรติ วัฒนวิกย์กิจ) ร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ (DSI) เป็นจำนวนเงิน ๘๙๙,๒๐๓ บาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ ๗.๕ นับจากวันถัดฟ้อง คือ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๗ และให้จำเลยร่วมกัน จ่ายค่าฤชาธรรมเนียมศาล และค่าทนายความแก่โจทก์อีกเป็นจำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท

จึงมีคำถามตามมาว่าเพื่อให้มีการตรวจสอบว่า...? ประเด็นที่
๑) 
การที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาไปดำเนินการทางการเมือง ปิดถนน ปิดสถานที่ราชการ เป็นการทอดทิ้งธุระของพระภิกษุ ๒ อย่าง คือ
๑) “คันถธุระ” การศึกษาพระธรรมวินัย และ
๒) “วิปัสสนาธุระ” การเจริญพระกรรมฐาน มีความผิดทั้งพระธรรม และพระวินัย ความผิด
ทางธรรมนั้น ได้ปฏิบัติผิด พระพุทธพจน์ในโอวาทปาฏิโมกข์ ข้อว่า “น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี” ผู้ฆ่า-ผู้ทำร้ายผู้อื่นไม่ใช่พระ “สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต” ผู้ทำให้คนอื่นเดือดร้อนไม่ใช่พระ หรือไม่ ? และคำถามประเด็นที่ ๒ เพื่อขอให้ตรวจสอบด้วยว่า...?)
ความผิดทางพระวินัยนั้น “การปิดถนน ปิดสถานที่ราชการ”  เป็นเหตุทำให้…
1. ประชาชนทั่วไปผู้มาติดต่อราชการเสียทรัพย์ในการเดินทาง แต่ติดต่องานไม่ได้
2. ทางราชการขาดรายได้จากค่าภาษีอากร และค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่จะพึ่งได้ ซึ่งเทียบเคียงกันได้กับภิกษุผู้หลีกเลี่ยงค่าภาษี
3. ทรัพย์ของทางราชการเกิดความเสียหาย และต่อมาพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง “หลวงปู่พุทธอิสระ” หรือ “พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม” กับพวกเป็นจำเลย และศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายแล้ว
ความผิดพระวินัย ๓ ประการนี้ เป็นเหตุให้ภิกษุผู้กระทำต้อง “อทินนาทาน ปาราชิก ทั้งนั้น” หรือไม่? 
พฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดต่อทรัพย์สินของทางราชการของ “หลวงปู่พุทธอิสระ”
หรือ “พระสุวิทย์ ธีรธัมโม” นั้น ถือว่าชัดแจ้งแล้วตามคำพิพากษาศาลแพ่งและครบองค์ประกอบความผิดของ “อาบัติปาราชิก สิกขาบทที่ ๒” ที่มูลค่าของทรัพย์สินมากกว่าห้ามาสกหรือบาทหนึ่งหรือไม่?
ซึ่งมีบัญญัติองค์แห่งอาบัติ ดังนี้
๑) เป็นของผู้อื่นเป็นชาติมนุษย์หวงแหนอยู่
๒) สำคัญรู้ว่า เป็นของผู้อื่นหวงอยู่
๓) ของนั้นราคาบาทหนึ่งหรือราคากว่าบาทหนึ่งขึ้นไป
๔) เถยยจิต ๕) อาการที่ถือว่าลักทรัพย์ด้วยอวหาร
ดังนั้น จึงขอให้เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย ในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง “หลวงปู่พุทธอิสระ” หรือ “พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม” ได้ทำการดำเนินการสอบสวนความผิดทางพระวินัยตามกฎนิคหกรรม ด้วยข้อกล่าวหา “ต้องอาบัติปาราชิก สิกขาบทที่ ๒” ต่อ “หลวงปู่พุทธอิสระ” หรือ “พระสุวิทย์ ธีรธัมโม” ว่า “พ้นจากความเป็นพระในทางพระพุทธศาสนา” หรือไม่? เพื่อยังความศรัทธา ของพุทธบริษัทให้ดำรงมั่นคงต่อไป
อ้างอิง  https://www.facebook.com/tv24newsroom/posts/656640144483140

3 ความคิดเห็น