ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

6 พฤติกรรมที่น่าสังสัยของดีเอสไอ ในการทำคดีพระธัมมชโย!!!



เวลาจะตั้งข้อหา ต้องดูว่าหลักฐานและพยาน มีความน่าเชื่อถือมากพอจะตั้งข้อหานั้นหรือไม่ ไม่ใช่มีหลักฐานแค่ผู้รับบริจาค แต่กลับมาตั้งข้อหาฟอกเงินและรับของโจร
ที่สำคัญการนำหลักฐานจากคดีที่ถอนฟ้องไปแล้ว มาตั้งคดีใหม่ ตั้งข้อหาใหม่ เป็นสิ่งที่กระทำไม่ได้
เพราะคดีนั้นยุติไปแล้ว ขาดจากความเป็นคดีไปแล้ว เมื่อความจริงเป็นแบบนี้ ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า
1. การนำหลักฐานจากคดีที่ถอนฟ้องไปแล้ว ไม่มีเจ้าทุกข์แล้ว หลักฐานถูกถอนจากคดีไปแล้ว มาตั้งเป็นคดี ข้อหาใหม่ กฎหมายอนุญาติให้ทำได้หรือไม่ ?
2. ถ้าทำได้ ก็มีคำถามต่อว่า ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (2) คดีนี้เป็นคดีความผิดต่อบุคคล ไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดิน ซึ่งยอมความกันได้ และเจ้าทุกข์ถอนฟ้องไปแล้ว ดีเอสไอใช้อำนาจกฎหมายมาตราใด ตั้งคดีเป็นคดีอาญา ?
3. คดีที่ไม่มีเจ้าทุกข์ และไม่มีผู้เสียหาย ย่อมเท่ากับขาดองค์ประกอบของความเป็นคดี ดีเอสไอใช้อำนาจกฎหมายอาญาในมาตราใด ในการดำเนินการสอบสวน ทั้งออกหมายเรียก ปฏิเสธใบรับรองแพทย์ ละเมิดสิทธิผู้ป่วย ขอหมายจับ ขอหมายค้น และขออนุมัติกำลังพล เพื่อจับกุมตัวหลวงพ่อวัดพระธรรมกาย ?


4. ศิษย์วัดเห็นความไม่ชอบธรรมในการใช้กฎหมาย จึงมารวมตัวอยู่ในวัดด้วยความสงบ สันติ อหิงสา
มิได้อยู่ในเขตพื้นที่สาธารณะ ดีเอสไอใช้อำนาจกฎหมาย มาตราใดตั้งข้อหาศิษย์วัดว่าขัดขวางการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ ช่วยเหลือซ่อนเร้นผู้ต้องหา ชุมนุมการเมืองในที่สาธารณะ ?
5. ดีเอสไอส่งสำนวนฟ้อง 32 แฟ้ม 1 หมื่นหน้า แก่อัยการไปแล้ว ย่อมไม่มีอำนาจในการสอบสวนอีกต่อไป ขณะเดียวกันอัยการก็นัดหมายให้รอฟังวินิจฉัย ว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่สั่งฟ้อง ในวันที่ 13 กรกฎาคม
ดังนั้นในระหว่างวันที่ 14 ม.ย.-13 ก.ค. 2559  ดีเอสไอใช้อำนาจกฎหมายมาตราใดในการสอบสวนคดีเพิ่มเติม ?
6. ดีเอสไอเป็นผู้ถือกฎหมาย เป็นผู้รักษากฎหมาย แต่ทำคดีอาญาโดยไม่แสดงความโปร่งใส ในการอ้างอำนาจตามมาตรากฎหมายให้เกิดความชัดเจนเช่นนี้ ประชาชนจะเชื่อมั่นในความเคารพกฎหมายของผู้ถือกฎหมายได้อย่างไร





แถลงการณ์
เรื่อง ติดตามเรื่องการกล่าวโทษพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ข้าพเจ้าได้ยื่นหนังสือกล่าวโทษต่อประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) กรณีที่พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ได้ออกหมายเรียกพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ในฐานะผู้ต้องหา โดยกล่าวหาว่าหลวงพ่อธัมมชโยกระทำความผิดฐานสมคบกันฟอกเงินและร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร
ซึ่งข้าพเจ้ามีความเห็นว่าการกระทำดังกล่าวถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ
พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ทำการสอบสวนพยานหลักฐานต่างๆ ในคดีพิเศษที่ 146/2556 รวมถึงสอบปากคำหลวงพ่อธัมมชโยเรียบร้อยแล้ว และได้ส่งสำนวนการสอบสวนทั้งหมดไปยังพนักงานอัยการแล้ว แต่ต่อมาภายหลังพนักงานสอบสวนกลับมีการตั้งคดีใหม่เป็นคดีพิเศษที่ 27/2559 ขึ้นมาดำเนินคดีกับหลวงพ่อธัมมชโยโดยอาศัยมูลคดีเรื่องเดิมที่ได้สอบสวนเสร็จสิ้นและส่งให้พนักงานอัยการดังกล่าวแล้ว และมีการตั้งข้อหาว่าสมคบกันฟอกเงินและร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร ซึ่งถือว่าเป็นการดำเนินคดีที่ซ้ำซ้อน ขัดกับหลักกฎหมายที่ว่า “การกระทำครั้งเดียวจะดำเนินคดีซ้ำซ้อนไม่ได้” การกระทำดังกล่าวจึงอาจเข้าข่ายเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ,
มาตรา 200 , มาตรา 83 และมาตรา 86
ในวันนี้ ข้าพเจ้าจึงได้มาติดตามความคืบหน้าในเรื่องที่ได้ยื่นไว้ดังกล่าวและให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อเจ้าหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)
จึงแถลงการณ์มายังสาธารณชนเพื่อทราบโดยทั่วกัน
ขอแสดงความนับถือ
นายพัฐจักร เทพษร
24 มิถุนายน 2559
cr : ptt Cnkr

ไม่มีความคิดเห็น