ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

พุทธศาสนา ตามเส้นทางสายไหม (Buddhism along the Silk Road)

ชาวพุทธจีนได้พระถังซัมจั๋งเป็นต้นแบบการอันเชิญพระไตรปิฎกอย่างถวายชีวิตเป็นเดิมพัน ทำให้พระพุทธศาสนายังคงดำรงอยู่ในประเทศจีนมาถึงบัดนี้
พุทธศาสนา ตามเส้นทางสายไหม (Buddhism along the Silk Road) เส้นทางการค้าของโลกยุคโบราณ ในช่วงที่เทคโนโลยีการเดินเรือสินค้ายังไม่พัฒนาเท่าใดนัก เส้นทางสายผ้าไหมเป็นเส้นเดินทางภาคพื้นดินของพ่อค้า กองคาราวานสินค้า นักบวช  นักจาริกแสวงบุญ ทูต นักแสดง และผู้คนหลากหลายอาชีพ ต่างวัฒนธรรมและชนชาติ เชื่อมต่อระหว่างจีนกับกรุงโรม เริ่มต้นจากนครซีอานหรือฉางอาน ในเขตลุ่มแม่น้ำฮวงโห ผ่านตรงไปทางทิศตะวันตกเข้าสู่  นครตุงหวาง เส้นทางผ่านทะเลทรายทากลิมากัน ที่เมืองโคทานและเมืองกุจจะ ทางแยกใหญ่อยู่ที่เมืองคาชการ์ ( Khaksar ) และทุ่งเฟอร์กาน่า ( Ferghana ) ใจกลางทวีปเอเชียพอดิบพอดี เส้นทางแยกตะวันตกไปสู่นครซามาร์คานด์ ( Samarkand - ประเทศอุซเบกีสถานในปัจจุบัน)  นครเมิร์ฟ ใช้เส้นทางเลียบทะเลสาปแคสเปี้ยน เข้าสู่นครฮามาดัน ปาล์ไมล่า ในเปอร์เซียโบราณ ไปสู่เมืองท่าอันติโอค ดามัสกัสและเมืองท่าไทร์ที่ซีเรีย ก่อนจะลงทะเลเมดิเตอริเนียนเดินทางไปสู่กรุงโรม  

ในพุทธศตวรรษที่ ๕ เส้นทางสายผ้าไหมประสบปัญหาขาดเสถียรภาพจากสงครามระหว่างโรมันและอาณาจักรศกะ - ปาเที่ยน จนล่วงเข้าถึงพุทธศตวรรษที่ ๖ - ๗ ชาวกุษาณะหรือชนเผ่ายุชชิ จากทางภาคเหนือจึงแผ่อิทธิพลเข้าครอบครองทุ่งเฟอร์กาน่า ซามาร์คานด์ แคว้นคันธารราฐ ขยายอิทธิพลไปจนถึงแคว้นปัญจาบ และแคว้นมคธราฐในลุ่มแม่น้ำคงคาแทนอาณาจักรชาวปาเที่ยน เส้นทางสายผ้าไหมเริ่มมีเสถียรภาพขึ้นอีกครั้งหลังจากที่พระเจ้ากนิษกะ (Kanishka) ผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างความมั่งคงและมั่งคั่งให้กับจักรวรรดิของชาวกุษาณะ     

ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเม่งตี่ (พ.ศ. ๖๐๑ – ๖๐๙) พุทธวัฒนธรรมและศิลปวิทยาการจากอินเดียเริ่มเดินทางเข้าสู่ประเทศจีน มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีนเป็นครั้งแรก วัฒนธรรมจีนดั่งเดิมโดยเฉพาะลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า ต่างยอมรับและผสมผสานกับพุทธศาสนาที่แผ่อิทธิพลเข้ามาได้อย่างลงตัว ในสมัยต่อมาจึงเริ่มปรากฏงานศิลปกรรมและพุทธสถานมากมายในเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ตามเส้นทางสายผ้าไหม เช่นหมู่ถ้ำสหัสพุทธ หมู่ถ้ำโม่เกา เมืองโบราณเกาชาง เมืองโบราณเจียวเหอ หมู่ถ้ำย่งกัง ถ้ำหลงเหมิน เมืองโบราณตุงหวาง ฯลฯ 

ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒ จักรพรรดิถังไทจง แห่งราชวงศ์ถัง ได้ทำสงครามกับพวกเตอร์ก ตาตาร์ (ตาด )ที่รุกคืบมาจากบริเวณทะเลสาบแคชเปี้ยน รวมทั้งทำสงครามกับชนเผ่าฮั่นขาวจนได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ในขณะที่แคว้นคันธารราฐ มีการปกครองแยกเป็นส่วน ๆ  โดยชาวกุษาณะ ชาวปาเที่ยน ที่นับถือศรัทธาในนิกายมหายาน ชาวศกะ - ซินเถียนในราชวงศ์ไมตรกะที่นับถือศาสนาพุทธนิกายสางมิตียะ รวมกับอิทธิพลของแคว้นมคธราฐ ลุ่มแม่น้ำคงคาในรัชสมัยของพระเจ้าหรรษะวรรธนะ (ศีลาทิตย์ พ.ศ. ๑๑๔๙ -  ๑๑๙๐)  ราชวงศ์โมขรีส แห่งนครธเนศวรที่ประสบความสำเร็จในการสถาปนาจักรวรรดิ์ขึ้นใหม่ปกครองอินเดียเหนือหลังจากที่ราชวงศ์คุปตะเสื่อมถอยลง พระเจ้าหรรษะวรรธนะทรงมีความศรัทราในพุทธศาสนนิกายมหายาน  เมื่อความมั่นคง เสถียรภาพและความสงบสุขกลับคืนมาสู่ภูมิภาค เส้นทางสายผ้าไหม เส้นทางแห่งอารยธรรมจึงกลับมามีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

 เมื่อพระถังซัมจั๋งหรือหลวงจีนฮวนซังเดินทางเข้ามาสืบพระพุทธศาสนายังประเทศอินเดีย ท่านได้เดินทางตามเส้นทางสายผ้าไหมเข้ามาสู่แคว้นแคชเมียร์ (กัษมีร์)  ณ ที่แคว้นนี้ พระถังซัมจั๋งได้รับการต้อนรับจากกษัตริย์แห่งแคว้นกัษมีร์ให้พำนัก และอนุญาตให้คัดลอกคัมภีร์ทางพุทธศาสนานานกว่า ๒ ปี หลังจากนั้นท่านจึงได้เดินทางต่อมายังแคว้นปัญจาบ เข้าสู่อินเดียเหนือ ตามเส้นทางไปสู่มืองมถุรา และเมืองต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำคงคา ที่ปรากฏในพุทธประวัติ หลวงจีนฮวนซัง ได้ไปเยี่ยมสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ลุมพินี สาวัตถี กุสินารา พาราณสี พุทธคยา ปาฏลีบุตร(ปัตนะ) ราชคฤห์ และเข้าศึกษาพระธรรมคำสอนเพิ่มเติมในมหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นเวลา ๕ ปี หลังจากนั้น หลวงจีนฮวนซังจึงได้เดินทางไปทางภาคใต้เพื่อข้ามไปยังเกาะลังกา แต่เกิดเหตุความวุ่นวาย โรคระบาดและสงครามกลางเมืองขึ้นเสียก่อน หลวงจีนฮวนซังจึงเปลี่ยนเส้นการเดินทางไปเยือนแคว้นคุชราตทางตะวันตกและเดินทางเข้าสู่แคว้นคันธาราฐ ผ่านตักศิลา เข้าสู่นครกปิศะและเมืองบามิยาน  จากนั้นจึงเดินทางกลับมาพำนักจำพรรษา ที่มหาวิทยาลัยนาลันทาอีกครั้งหนึ่ง ความสามารถในการเทศนาธรรมและความรู้สติปัญญาที่ชาญฉลาดในการแก้ปัญหาพระพุทธศาสนาและความขัดแย้งระหว่างนิกายต่าง ๆ  ทำให้หลวงจีนฮวนซังเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าหรรษะวรรธนะองค์อุปถัมภกนิกายมหายานที่นาลันทาเป็นอย่างมาก  เมื่อหลวงจีนฮวนซังปรารภว่าจะเดินทางกลับ พระองค์ก็ทรงพยายามเหนี่ยวรั้งมิให้ท่านเดินทางกลับสู่ประเทสจีนหลายต่อหลายครั้ง จนในที่สุดก็จำต้องอนุญาต หลวงจีนฮวนซังหรือพระถังซัมจั๋งเดินทางกลับมาถึงซีอานในปีพ.ศ. ๑๑๘๘ รวมระยะเวลาเดินทาง ๑๗ ปี ระยะทางทั้งสิ้นกว่า ๑๕,๐๐๐ ไมล์พระถังซัมจั๋งท่านเปี่ยมความศรัทธาความมุ่งมันในพุทธศาสนามีคุโณปการต่อพุทธศาสนิกชนในปัจจุบันและเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญชิ้นหนึ่ง
 

ขอบคุณรูปภาพจาก Google.com
อ้างอิง เส้นทางสายไหม The Silk Road
ที่มา https://www.facebook.com/tchinungkuro

ไม่มีความคิดเห็น