ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

ฎีกาชุดนี้ช่วยทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า การรับบริจาค ไม่ใช่มูลฐานความผิดฟอกเงินอย่างแน่นอน

ฎีกาชุดนี้ช่วยทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า การรับบริจาค ไม่ใช่มูลฐานความผิดฟอกเงินอย่างแน่นอน
1. ลักทรัพย์ คือ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการ โดยทุจริต
2. ฉ้อโกง คือ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยการทำกลอุบายหลอกลวงเจ้าของทรัพย์
ดังนั้น การรับบริจาค จึงมิใช่การลักทรัพย์หรือการฉ้อโกง อันเป็นมูลฐานความผิดฟอกเงิน เพราะมิได้เป็นการเอาทรัพย์ ของผู้บริจาคไปโดยพลการ หรือโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง แต่เจ้าของทรัพย์เป็นผู้มอบให้เองโดยตรง โดยความยินยอม โดยความยินดี โดยความเต็มใจ โดยสุจริต โดยมิได้ถูกหลอกลวง


ที่มา ทบทวนหลักกฏหมายกับอาจารย์ประยุทธ
ผู้จัดการฝ่ายบัญชีปรับแต่งบัญชีเงินเดือนของพนักงาน เพิ่มเงินเดือนให้แก่ตนเอง ให้มีอัตราสูงกว่าความเป็นจริงทำให้ผู้เสียหายโอนเงินเดือนเข้าบัญชีเงินฝากของผู้จัดการ ผู้จัดการมีความผิดฐานใด และระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์กับฉ้อโกง มีหลักการต่างกันอย่างไร
ศึกษาวิเคราะห์จากฎีกาที่ 14689/2558
ป.อ. มาตรา 335 ลักทรัพย์นายจ้าง
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายบัญชี มีหน้าที่จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับเงินเดือนของพนักงาน ได้ดำเนินการให้โจทก์ร่วมโอนเงินเดือนเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย และ ส. เกินกว่าเงินเดือนที่มีสิทธิได้รับจริงซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ใช้โอกาสที่ตนเองเป็นผู้จัดทำบัญชีเงินเดือนของพนักงานทำการแสวงหาประโยชน์ด้วยการปรับแต่งบัญชีเงินเดือนของพนักงาน เพิ่มเงินเดือนให้แก่ตนเองให้มีอัตราสูงกว่าความเป็นจริง ทำให้จำเลยได้รับเงินจากโจทก์ร่วมไปเป็นเงินทั้งสิ้น 466,500 บาท และจำเลยยังได้ปรับแต่งข้อมูลอัตราเงินเดือนของ ส. ให้สูงขึ้น เป็นเหตุให้ ส. ได้รับเงินเกินไปกว่าเงินเดือนที่แท้จริง จำนวน 96,000 บาท แต่เมื่อ ส. นำเงินส่วนที่ได้รับเกินมาดังกล่าวไปคืนให้แก่จำเลย จำเลยก็นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยไม่คืนเงินให้แก่โจทก์ร่วม กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยลักเงินของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างโดยใช้กลอุบายปรับแต่งบัญชีเงินเดือนให้โจทก์ร่วมนำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยและ ส. เกินกว่าเงินเดือนที่มีสิทธิได้รับ แล้วจำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้าง
หมายเหตุ
1. ความผิดฐานลักทรัพย์และฐานฉ้อโกง เป็นกรณีทำให้ผู้กระทำผิดได้ทรัพย์ไปจากผู้ครอบครองเช่นเดียวกัน แต่ลักษณะการได้มาแตกต่างกันซึ่งศาลฎีกาวางหลักว่า ในความผิดฐานลักทรัพย์ผู้กระทำผิดจะเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการ หมายความว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่ยินยอม ส่วนความผิดฐานฉ้อโกงผู้กระทำผิดได้ทรัพย์ไปโดยความยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์ซึ่งความยินยอมดังกล่าวเกิดจากการถูกหลอกลวง
2. ให้พิจารณาศึกษาเปรียบเทียบระหว่างฎีกาที่ 14689/2558 กับฎีกาที่ 394/2553
คำพิพากษาฎีกาที่ 394/2553 
ป.วิ.พ. มาตรา 173 (1) วรรคสอง
ป.วิ.อ. มาตรา 15, 160 วรรคหนึ่ง, 192 วรรคสาม
ป.อ. มาตรา 91 (1), 96, 335 (11), 335 วรรคแรก, 341
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์ไปเพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากถูกหลอกลวง เมื่อจำเลยจัดทำใบเบิกเงินทดรองจ่ายซึ่งมีค่าใช้จ่ายไม่ตรงตามความเป็นจริง จึงเป็นการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ การอนุมัติให้จำเลยเบิกเงินไปเกิดจากการที่พนักงานและกรรมการของโจทก์ร่วมหลงเชื่อข้อความในเอกสาร จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลก็มีอำนาจลงโทษในความผิดฐานฉ้อโกงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
แม้คำขอบังคับในคดีนี้กับคดีของศาลแรงงานกลางจะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน คือขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีนี้เนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา ส่วนคดีของศาลแรงงานกลางมีที่มาจากมูลกรณีของการผิดสัญญาจ้างแรงงาน พนักงานอัยการไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาจ้างแรงงานมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่เป็นกรณีที่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ร่วม ฉ้อโกงเงินของโจทก์ร่วมไปและถูกฟ้องหลายคดี แต่คดีนี้และคดีอื่นมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 91 (1) กล่าวคือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงทุกคดีแล้วจะเกิน 10 ปี ไม่ได้ คดีนี้จำเลยถูกลงโทษเต็มตามกำหนดโทษดังกล่าวแล้วย่อมไม่อาจนำโทษคดีนี้ไปนับต่อจากโทษคดีอื่นได้เพราะจะทำให้จำเลยได้รับโทษจำคุกเกินกำหนดที่ ป.อ. มาตรา 91 (1) บัญญัติไว้
คำพิพากษาฎีกาที่ 6892/2542 
ป.อ. มาตรา 334, 341
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการ โดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์ไปเพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากถูกหลอกลวงการที่จำเลยเปลี่ยนเอาป้ายราคาโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางซึ่งติดราคา1,785 บาทออก แล้วนำป้ายราคาโคมไฟอื่นซึ่งติดราคา 134 บาท มาติดแทนแล้วมอบให้พวกของจำเลยนำไปชำระราคาแก่พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายจึงมิใช่เอาโคมไฟตั้งโต๊ะไปโดยพลการโดยทุจริต อันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หากแต่เป็นการหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายโดยทุจริต โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ราคาโคมไฟตั้งโต๊ะมีราคา 134 บาท พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายหลงเชื่อยินยอมมอบโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางให้จำเลยโดยรับเงินจากจำเลยไว้เพียง 134 บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาฎีกาที่ 3935/2553 
ป.อ. มาตรา 335
จำเลยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปตั้งแต่ต้น การที่จำเลยเอาสุราต่างประเทศใส่ในลังน้ำปลาแล้วนำไปชำระเงินกับพนักงานแคชเชียร์ของผู้เสียหายเท่ากับราคาน้ำปลา เป็นเพียงกลอุบายของจำเลยเพื่อเอาสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปโดยทุจริตเท่านั้น โดยพนักงานแคชเชียร์ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เสียหายมิได้มีเจตนาส่งมอบการครอบครองสุราต่างประเทศให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 85/2542 
ป.อ. มาตรา 56, 83, 335
จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาทรัพย์หลายรายการใส่ในกล่องกระดาษใส่พัดลม และนำผ่านเครื่องเก็บเงินของผู้เสียหาย และชำระราคาสินค้าเท่ากับราคาค่าพัดลม 3 เครื่อง ซึ่งมีราคา น้อยกว่าราคาสินค้าในกล่องกระดาษเป็นการลักทรัพย์โดยใช้ กลอุบาย แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันคบคิด แสวงหาวิธีการ หลอกลวงตบตาผู้เสียหายไว้ก่อน ลักษณะและพฤติการณ์แห่งความผิด จึงถือได้ว่าร้ายแรง จำเลยทั้งสองเป็นผู้ใหญ่ และจำเลยที่ 2 มีครอบครัวและบุตรแล้ว ถือได้ว่ามีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี พอสมควรกลับมากระทำผิดจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาฎีกาที่ 2624/2530 
ป.อ. มาตรา 83, 335 (7)
จำเลยกับพวกนำรถยนต์บรรทุกสิบล้อไปขอรับจ้างบรรทุกถั่วเขียวของผู้เสียหายเพื่อส่งให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย แล้วเอาถั่วเขียวดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ของตนกับพวก ดังนี้ เป็นการใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายเพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์โดยมีเจตนาทุจริตมาแต่แรกจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์.
คำพิพากษาฎีกาที่ 611/2530 
ป.อ. มาตรา 334, 336 ทวิ 
จำเลยขับรถยนต์เข้าไปสั่งให้เติมน้ำมันรถยนต์ที่ปั๊มน้ำมันของผู้เสียหาย เมื่อคนเติมน้ำมันเติมน้ำมันเกือบจะเต็มถังจำเลยพูดว่าไม่มีเงินเดี๋ยวจะเอามาให้ คนเติมน้ำมันบอกว่าต้องไปบอกผู้เสียหายก่อน แต่จำเลยได้ขับรถออกไปทันที ขณะเติมน้ำมันจำเลยไม่ได้ดับเครื่องยนต์รถและฝาปิดถังน้ำมันก็ไม่มีโดยใช้ผ้าอุดไว้แทนแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้วางแผนการไว้เพื่อจะไม่ชำระเงินค่าน้ำมันเมื่อได้น้ำมันมาแล้ว โดยจะรีบหนีไปอันเป็นอุบายอย่างหนึ่งในการที่จะทำให้ลักทรัพย์สำเร็จ พฤิตการณ์แสดงว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่ต้นที่จะลักเอาน้ำมันของผู้เสียหาย.(ที่มา-ส่งเสริม)


Cr : Ptt Cnkr

ไม่มีความคิดเห็น