ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

สนทนาธรรมกับ “สองท่านเจ้าคุณ” ว่าด้วยปัญหาร้อนๆ “เงินวัด” กับ “พระสงฆ์” ถวายร้อยก็ใช้ได้ร้อย ถวายแสนก็ใช้ได้แสน ถวายล้านก็ใช้ได้ล้าน


สนทนาธรรมกับ “สองท่านเจ้าคุณ” ว่าด้วยปัญหาร้อนๆ “เงินวัด” กับ “พระสงฆ์” 
“ถวายร้อยก็ใช้ได้ร้อย ถวายแสนก็ใช้ได้แสน ถวายล้านก็ใช้ได้ล้าน” 




สนทนาธรรมกับ “สองท่านเจ้าคุณ” ว่าด้วยปัญหาร้อนๆ เรื่อง “เงินวัด” กับ “พระสงฆ์”
                   “ถวายร้อยก็ใช้ได้ร้อย ถวายแสนก็ใช้ได้แสน ถวายล้านก็ใช้ได้ล้าน”

 เงินปัจจัยทำบุญที่ญาติโยมนำมาถวายว่า ที่สุดแล้ว เงินเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็ตอบแทนกลับคืนสู่สังคมในรูปแบบสาธารณประโยชน์ต่างๆ...
ในกรณีที่สังคมมองว่าพระสงฆ์ไม่ควรมีทรัพย์สินและเมื่อญาติโยมถวายปัจจัยก็ไม่ควรรับนั้น
พระธรรมวรนายกมองว่า เป็น “สิ่งที่เกินไป” เพราะถ้าญาติโยมถวายเป็นส่วนตัว ปัจจัยส่วนนั้นก็เป็น “ของส่วนตัว” ของพระสงฆ์ ถ้าญาติโยมถวายร้อยก็ใช้ได้ร้อย ถวายแสนก็ใช้ได้แสน ถวายล้านก็ใช้ได้ล้าน เพราะเป็นของส่วนตัว

Cr : Ptt Cnkr


สนทนาธรรมกับ “สองท่านเจ้าคุณ” ว่าด้วยปัญหาร้อนๆ เรื่อง “เงินวัด” กับ “พระสงฆ์”


พระพุทธศาสนาช่วงนี้ ลักษณะเหมือนพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก มีข่าวทุกวัน เราไม่เคยไปพูดถึงวัดที่ไม่มีสตางค์ ในต่างจังหวัด บางวัดแม้แต่ค่าน้ำค่าไฟ ชาวบ้านต้องเรี่ยไรกันออก แล้ววัดที่มีปัญหา ถามว่ามีปัญหาไหม อาตมาไม่เคยปฏิเสธว่าองค์กรใหญ่ไม่มีปัญหา

คำกล่าวข้างต้นของ “พระราชปริยัติมุนี” หรือ “เจ้าคุณเทียบ (สิริญาโณ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม คงสะท้อนภาพของวงการพระพุทธศาสนาที่กำลังเผชิญกับคำถามจากสังคมได้เป็นอย่างดี




การตั้งคำถามจากสังคมต่อวงการพระพุทธศาสนา ทั้งตัวพระสงฆ์และตัววัด เริ่มปรากฏให้เห็นมาขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา หลังกรณีการฆาตกรรม “สามเณรปลื้ม” วัดวังตะวันตก จ.นครศรีธรรมราช
   เมื่อย้อนกลับไปถึงกรณีอื้อฉาวในอดีต อาทิ “เณรคำ” หรือ “อดีตพระยันตระ” จึงนำมาสู่การเรียกร้องให้มีการตรวจสอบคณะสงฆ์เกิดขึ้นจากหลายภาคส่วน
ประเด็นหลักที่สังคมคลางแคลงใจ คือ พระสงฆ์จับเงินได้หรือไม่?, เงินที่บริจาคจากญาติโยมเป็นของวัดหรือของพระ?, การบริหารจัดการวัดทำอย่างไรให้โปร่งใส? ฆราวาสควรเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่?
สําหรับประเด็นที่ว่าพระสงฆ์จับเงินได้หรือไม่นั้น
“พระธรรมวรนายก” (โอภาส นิรุตฺติเมธี) พระเถระผู้ใหญ่วัย 84 ปี ที่เคยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดยาวนานที่สุดในประเทศไทย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมาเป็นเวลาถึง 38 ปี และเป็นผู้ที่วงการสงฆ์ให้การยอมรับว่ามีความรู้เรื่องหลักศาสนาลึกซึ้งท่านหนึ่ง

อธิบายว่าในทางวินัย การถวายปัจจัยหรือถวายเงินแก่พระสงฆ์ย่อมทำได้ แทนการถวายปัจจัย 4 โดยให้ไวยาวัจกรเป็นผู้รับเก็บไว้ เมื่อต้องการจะใช้สิ่งใดก็บอกกล่าวให้ไวยาวัจกรนำเงินไปซื้อหามา

แต่ในกรณีที่สังคมมองว่าพระสงฆ์ไม่ควรมีทรัพย์สินและเมื่อญาติโยมถวายปัจจัยก็ไม่ควรรับนั้น พระธรรมวรนายกมองว่า เป็น “สิ่งที่เกินไป” เพราะถ้าญาติโยมถวายเป็นส่วนตัว ปัจจัยส่วนนั้นก็เป็น “ของส่วนตัว” ของพระสงฆ์ ถ้าญาติโยมถวายร้อยก็ใช้ได้ร้อย ถวายแสนก็ใช้ได้แสน ถวายล้านก็ใช้ได้ล้าน เพราะเป็นของส่วนตัว

อย่างไรก็ตาม ในการใช้เงินนั้นก็ต้องนึกถึงสถานภาพของตนเองเช่นกัน การไปเอง ซื้อเอง ถือเงินไปเป็นฟ่อน ทั้งที่อยู่ในสมณเพศ ก็เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม

อีกแง่มุมหนึ่ง จากคำถามที่ว่าพระสงฆ์รับเงินเหมาะสมหรือไม่ พระราชปริยัติมุนีสะท้อนว่า ถ้าจะพูดถึงเรื่องไม่ให้พระสงฆ์รับปัจจัย เวลาพระสงฆ์เดินทาง ขึ้นรถเมล์ ขึ้นแท็กซี่ ก็ยังต้องเสียเงินอยู่ หรือบางครั้งเมื่อพระสงฆ์ต้องการของใช้จำเป็น ก็ยังต้องซื้อ

ฉะนั้น การถวายปัจจัยของญาติโยมก็เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้พระสงฆ์ได้ทำหน้าที่ของตนเอง โดยไม่ต้องเป็นภาระแก่ญาติโยมในทุกๆ เรื่อง

แต่ถ้าเห็นว่าพระสงฆ์ไม่ควรรับปัจจัยจริงๆ เจ้าคุณเทียบมองว่าแบบนั้นก็ควรมีระบบรัฐสวัสดิการเกิดขึ้น ซึ่งจะตัดความจำเป็นในการใช้เงินส่วนนี้ของพระออกไป

พระราชปริยัติมุนียังอธิบายถึงเงินปัจจัยทำบุญที่ญาติโยมนำมาถวายว่า ที่สุดแล้ว เงินเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็ตอบแทนกลับคืนสู่สังคมในรูปแบบสาธารณประโยชน์ต่างๆ

เช่น กรณีของ “หลวงพ่อจรัญ” วัดอัมพวัน สิงห์บุรี หรือ “หลวงพ่อคูณ” วัดบ้านไร่ ที่ประชาชนทราบกันดีว่ามีคนทำบุญกับท่านปีหนึ่งหลายร้อยล้านบาท แต่ไม่เคยมีใครคลางแคลงใจว่าเงินเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูก เพราะรู้ว่าพระมหาเถระเหล่านั้นนำเงินบริจาคไปช่วยเหลือสังคมอย่างแท้จริง


อย่างไรก็ตาม ในกรณีของพระบางรูปที่รับปัจจัยอย่างเดียว แต่ไม่เคยนำเงินกลับสู่สังคม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ย่อมมีได้ เนื่องด้วยองค์กรศาสนาเป็นองค์กรใหญ่ จะให้พระทุกรูปประพฤติเหมือนกันหมดก็ย่อมยาก แต่ทั้งนี้พระประเภทดังกล่าวก็มีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น

อีกหนึ่งคำถามใหญ่จากสังคมคือเรื่อง “เงินวัด” ซึ่งกลายเป็นประเด็นร้อนที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง จากกรณีทั้งเรื่องที่ภาครัฐกำลังตรวจสอบปัญหาเกี่ยวกับ “เงินทอนวัด” รวมถึงการฆาตกรรม “สามเณรปลื้ม” ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากความขัดแย้งและความไม่โปร่งใสเรื่องการบริหารจัดการทรัพย์สินภายในวัด
ในมุมมองของพระราชปริยัติมุนี ข้อสงสัยที่เกิดขึ้นเป็นการมองไปยังวัดที่มีปัญหาอย่างเดียว แต่ไม่เคยมองถึงวัดที่ไม่มีปัญหาหรือวัดที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ อย่างวัดต่างจังหวัดหลายแห่งที่ต้องเรี่ยไรเงินชาวบ้านไปจ่ายค่าน้ำค่าไฟ
ส่วนวัดที่มีเงินหรือวัดที่มีปัญหา ก็ต้องยอมรับว่าย่อมมีอยู่เป็นธรรมดา แต่การแก้ปัญหาควรจะทำกับวัดที่เกิดปัญหา ไม่ใช่เหมารวมทั้งหมด
เจ้าคุณเทียบยกตัวอย่างการจัดการเงินภายในวัดโพธิ์ ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวจนทำให้มีเงินเข้าวัดเป็นจำนวนมากว่า แม้เจ้าอาวาสจะมีอำนาจสูงสุด แต่วัดมีรูปแบบการบริหารงานอยู่ในรูปคณะกรรมการ กรณีที่ต้องมีการเบิกจ่ายเงิน เจ้าอาวาส ไวยาวัจกร ตัวแทนคณะกรรมการการเงิน 1 ท่านจาก 7 ท่าน จะต้องรับทราบพร้อมกัน
เจ้าอาวาสไม่สามารถเซ็นเบิกเงินได้รูปเดียว ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่เคยเกิดปัญหาจากระบบดังกล่าวแต่อย่างใด
จากปัญหาที่เกิดขึ้นมีข้อเสนอจากหลายฝ่าย เช่น นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้ออกกฎหมายเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินวัด
สอดคล้องกับข้อมูลจาก ผศ.ดร.ณดา จันทร์สม คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่ระบุว่า เมื่อปี 2559 วัดต่างๆ ส่งรายงานบัญชีให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถ้านำมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ ก็จะช่วยเพิ่มกลไกตรวจสอบจากภาคประชาชน
ด้านหนึ่งแม้จะมีข้อเสนอต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มกลไกการตรวจสอบการบริหารจัดการเงินของวัดให้โปร่งใส แต่ดูเหมือนรูปแบบการบริหารโดยมีคณะกรรมการ ยังคงตอบโจทย์การบริหารจัดการเงินภายในวัดได้อย่างไม่มีปัญหา
ในเรื่องนี้ พระธรรมวรนายกอธิบายว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่เป็นของวัด ต้องบริหารจัดการโดยกรรมการของวัด ซึ่งกรรมการของวัดจะเป็นหญิงหรือชายก็ได้ จำนวนกรรมการควรมีความเหมาะสมกับยอดเงิน แต่ถ้าเป็นกรณีเบิกจ่าย เก็บรักษาแทนเงินวัด ต้องเป็นหน้าที่ของไวยาวัจกรเท่านั้น
ไวยาวัจกรอาจเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของวัดหรือไม่ก็ได้ แต่พระธรรมวรนายกเห็นว่าถ้าไวยาวัจกรเป็นหนึ่งในคณะกรรมการด้วยน่าจะสะดวกกว่า
เช่นเดียวกับพระราชปริยัติมุนี ที่มองว่าการบริหารจัดการวัด โดยเฉพาะวัดที่มีรายได้มากและเป็นที่จับตาของสังคม ควรอยู่ในรูปแบบคณะกรรมการจะเหมาะสมที่สุด แต่ถึงอย่างนั้น กรรมการวัดไม่จำเป็นจะต้องมีตัวแทนจากองค์กรต่างๆ เข้ามาตรวจสอบ
เจ้าคุณเทียบให้เหตุผลว่ากรรมการหรือไวยาวัจกรที่ผ่านการแต่งตั้งจากเจ้าอาวาส ก็สามารถไว้ใจได้แล้ว และถ้ามัวแต่ไม่ไว้วางใจตรงจุดนี้ ก็จะมีแต่การจ้องจับผิดกัน
อย่างไรก็ดี เพื่อความโปร่งใสและง่ายต่อการตรวจสอบ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์แสดงความเห็นว่าระบบบัญชีของวัดใหญ่ๆ ที่มีรายได้เยอะ ควรจะจัดจ้างนักบัญชีมืออาชีพเข้ามาทำบัญชีให้โดยตรง
ท้ายสุด ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้นนั้นเป็นอีกมุมหนึ่งที่สะท้อนผ่านมุมมองของพระสงฆ์ ผู้กำลังถูกตั้งคำถามจากสังคม
แท้จริงแล้ว ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เป็นปัญหาที่ก่อตัวและถกเถียงกันมาหลายยุคสมัย
หากพิจารณาให้ถี่ถ้วน คำกล่าวของพระธรรมวรนายกที่ว่า ถ้าญาติโยมถวายส่วนตัว ไม่ว่าปัจจัยจะเป็นจำนวนเท่าไหร่ พระสงฆ์ย่อมมีสิทธิ์ใช้ รวมถึงคำกล่าวจากพระราชปริยัติมุนีที่ว่า องค์กรใดก็ตาม ถ้าไม่มีประโยชน์ต่อสังคม องค์กรนั้นก็จะตายไปเองโดยอัตโนมัติ
อาจแสดงให้เห็นถึงนัยยะแห่งการคลี่คลายตัวของข้อถกเถียงดังกล่าวได้บ้าง ไม่มากก็น้อย

ไม่มีความคิดเห็น