ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

การตรงเป็นไม้บรรทัด และวัดความบริสุทธิ์กันตามตัวอักษร อาจไม่เหมาะสมในสถานการณ์จริง !!!

การตรงเป็นไม้บรรทัด และวัดความบริสุทธิ์กันตามตัวอักษร
 อาจไม่เหมาะสมในสถานการณ์จริง!!!


 

การตรงเป็นไม้บรรทัด และวัดความบริสุทธิ์กันตามตัวอักษร อาจไม่เหมาะสมในสถานการณ์จริง  

ที่มา www.facebook.com/ohsoul

ถึงดวงจันทร์จะมีหลุมตำหนิ บัณฑิตจะไม่ใส่ใจ เพราะจะเห็นแต่ประโยชน์ของแสงจันทร์

คล้ายๆว่า

ผิด พ.ร.บ. แต่ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ เวลาศาลวินิจฉัยเขาจะยึดที่กฏหมายแม่(รัฐธรรมนูญ) และเจตนา

พระพุทธเจ้าให้พุทธโองการ(รัฐธรรมนูญ)ว่า
...ภิกษุทั้งหลาย เธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย

..กรรมสำเร็จโดยเจตนา..
เจตนาเป็น..ธรรม
วินัยเป็น..สมมุติบัญญัติ

เด็กจะมีไข้ก่อนในทุกๆพัฒนาการ ฉันได
เดี๋ยวคนไทยก็จะได้...ทางที่ดี..จากบทเรียนนี้ครับ






"วิวาทะระหว่างพุทธ แค่สะท้อนความเห็นต่างระหว่างความยากจนกับความมีฐานะ แต่ไม่ใช่ข้ดแย้งแตกแยก"

+×÷=+×÷
@ ฟังความเห็นต่างตรงนี้มาหลายวัน พิจารณาดูแล้วน่าจะทำความเข้าใจกันได้
@ มุมมองที่ต่างกัน
อ.สุจินต์ เป็นคนยุคเก่า ถูกฝึกอบรมมาในสายอภิธรรมให้มองไปที่สภาวธรรมคือกุศลธรรม(ความดี)
กับ อกุศลธรรม (ความชั่ว) ล้วนๆ และใช้กุศลธรรมกับอกุศลเป็นปทัฏฐานในการตัดสินพฤติกรรมในสังคม โดยไม่คุ้นกับการมองตัวบุคคล มองสถานการณ์ มองแต่สภาวธรรมคือเป็นรูปกับนาม โดยมีนามเป็นตัวตัดสินว่าดีหรือชั่ว ดังนั้น ในทัศนะของท่าน พฤติกรรมที่แสดงออกจึงมีแต่กุศลกับอกุศล หรือดีกับชั่ว หรือถูกกับผิดเท่านั้น หรือ ขาวกับดำเท่านั้น ไม่มีสีเทา
ประกอบกับพื้นฐานเดิม ท่านเป็นคนมีสกุลคือดูเหมือนจะเป็นลูกหรือหลานสาวของคุณพระบริหารวนเขต (ขออภัยถ้าผิด) จึงมีชีวิตที่สัมพันธ์กับคนชั้นกลางถึงคนชั้นสูงเป็นส่วนมาก ไม่ได้สัมพันธ์กับคนชั้นล่างและคนทุกข์ยาก เรียนอภิธรรมกับอาจารย์แนบซึ่งก็มีสกุลรุนชาติ แถมสอนธรรมะก็สอนอยู่แต่กับคนชั้นกลางถึงชั้นสูง จึงไม่ค่อยสัมผัสกับความยากจนและคนยากคนจน จึงยากจะรู้รสของความทุกข์ยากอย่างที่คนยากจนรู้

 ด้านการมองพระ อ.สุจินต์เคารพพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เฉกเช่นชาวพุทธทั่วไป แต่สำหรับพระสงฆ์ ท่านอาจจะคุ้นเคยกับการมองพระอริยสงฆ์อย่างที่เรียนรู้มาจากคัมภีร์หรือจากการบอกเล่าของครูอาจารย์ จึงนิยมเอาชีวิตพระอริยสงฆ์มาวัดชีวืตของสมมติสงฆ์ในโลกปัจจุบัน ซึ่งค่อนข้างเกี่ยวข้องกับสังคม

@ การผูกพันกับสังคม - บทบาทหนึ่งของพระสงฆ์ในโลกปัจจุบัน
โลกปัจจุบัน คำสอนของพระพุทธเจ้ายังบริสุทธิ์แทั แต่พฤติกรรมของศาสนิกจะให้บริสุทธิ์เพียวตามคำสอนได้ค่อนข้างยากมาก เพราะอะไร ? เพราะอิทธิบาท ๔ ในการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้ามี แต่ไม่แก่กล้า ส่วนมากยังมีอินทรีย์ ๕ เช่นกัน แต่อ่อนกำลังมาก แม้พระสงฆ์ก็เช่นกัน ส่วนใหญ่ก็ยังมีอิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ สำหรับการการเรียนรู้และการปฏิบัติธรรม แต่ไม่เข้มแข็งพอที่จะก้าวข้ามเรื่องโลกธรรมได้ การสัมพันธ์กับสังคมจึงต่างกับสมัยพุทธกาล 
ไม่ต้องอะไรมาก ดูการบวชก็แล้วกัน สมัยครั้งพุทธกาล การบวชคือการละทิ้งครอบครัวพร้อมเครือญาติ มุ่งสู่ความหลุดพ้นเป็นพระอริยะ แต่การบวชในบ้านเรามี ๓ วัตถุประสงค์ คือ
๑) สละโลกสู่ความหลุดพ้น
๒) ประเพณีแทนคุณพ่อแม่หรือบวชหน้าไฟ 
๓) ประเพณีแล้วมุ่งสู่ความหลุดพ้น
 แต่วัตถุประสงค์ ๒ และ ๓ น่าจะมากกว่า จึงเป็นเหตุให้ตัดการเกี่ยวข้องสังคมไม่ได้ จึงออกมาเป็นผูกพันและอิงอาศัยกัน ดังสรุปอยู่ในคำกลอนที่ว่า 
"วัดจะดีมีหลักฐานเพราะบ้านช่วย บ้านจะสวยเพราะมีวัดดัดนิสัย วัดกับบ้านผลัดกันช่วยยิ่งอวยชัย ถ้าขัดกันก็บรรลัยทั้งสองทาง"




การช่วยเหลือในปัจจุบันอย่างคำกลอนว่าไว้แสดงความอิงอาศัยกันเป็นเรื่องจำเป็น...บ้านช่วยวัด วัดช่วยบ้าน
การผูกพันอย่างนี้ระหว่างวัดกับบ้านหรือระหว่างพระกับชาวบ้านมีอยู่ทั่วไปในสังคมชาวพุทธไม่ว่าเถรวาทหรือมหายาน ฝรั่งมารู้มาเห็นเข้าก็เรียกพระพุทธศาสนาที่ชาวพุทธปฏิบัติกันอย่างนี้ว่า
"socially engaged Buddhism - พระพุทธศาสนาแบบผูกพันกับสังคม"
อ.สุจินต์ไม่ใช่คนระดับล่าง ครอบครัวท่านไม่ได้สัมผัสกับบรรยากาศของความสัมพันธ์แบบนี้ ท่านจึงไม่เข้าใจ จึงน่าอภัยมากกว่าตำหนิ เพราะภูมิหลังท่านคือชาวพุทธที่ดีคนหนึ่ง ทำหน้าทึ่สอนธรรมะมานานน่าจะกว่า ๕๐ ปี
@ ด้านธรรมวินัย - พระสงฆ์เป็นอย่างไร ?
เอาละในด้านอาจาระ ตามที่เห็น พระที่ไปช่วยชาวบ้านอาจจะมีการแสดงออกแบบชาวบ้าน เช่น พายเรือ ทำครัว นุ่งโจงกระเบน แบกแพคน้ำ ถือข้าวห่อ แบกของ 
นี่ละมังทึ่ อ.สุจินต์บอกว่าไม่ควรช่วยแบบชาวบ้าน ซึ่งแน่ละกิริยาอาการอย่างนี้จะว่าเรียบร้อยไปไม่ได้ และยิ่งมองทะลุเข้าไปถึงจิตใจว่ามีสังขารหรือเจตสิกตัวใดปรุงแต่ง นักอภิธรรมอย่าง อ.สุจินต์ก็ต้องว่าเป็นอกูศลเจตสิกฝ่ายโลภะปรุงแต่ง สหรคตด้วยโสมนัส เพราะมีการหัวเราะสนุกสนานในการช่วยและประกอบด้วยทิฏฐิและมานะ
นี่คือการตัดสินแบบนักอภิธรรมที่เรียนรู้แต่เรื่องสัมปยุตกับวิปยุตตามปรากฏในคัมภีร์ฎีกา ซึ่งมีแต่กุศลกับอกุศล หรือขาวกับดำ ซึ่งก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าอภัยท่าน เพราะท่านขาดองค์ความรู้เรื่องคำสอนในพระสูตร ที่นักอภิธรรมทั่วไปไม่ใช่เฉพาะแต่ อ.สุจินต์มองข้าม
เอาละกลับมาด้านพระวินัย เป็นไปได้ว่าอาจาระเช่นนั้น หากจะปรับก็ไม่แคล้วอาบัติทุกกฏ
(ทำไม่ดี)เพราะทำไม่เรียบร้อยไม่สวยงาม ไม่สมควรแก่สมณสารูป ซึ่งเป็นอาบัติหรือโทษที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้สำหรับความผิดขั้นพื้นฐานทางกายและวาจา และพ้นผิดได้ด้วยการแสดงความผิดสารภาพผิดอย่างที่เรียกว่า "ปลงอาบัติ"


 แต่เมื่อมองด้านธรรมะ การช่วยเหลือชาวบ้านของพระเณรสะท้อนให้เห็นกรุณาหรือความสงสารอันใหญ่หลวง ที่มีเมตตา(ความรักความปรารถนาดี)เป็นฐานหนุนสำคัญ คุณธรรม ๒ ข้อนี้จะมองข้ามไปจากจิตใจของพระเณรที่ลงมือไปช่วยไม่ได้เลย
สิ่งที่น่าถามก็คือว่า ทำไมพระสงฆ์จึงเกิดกรุณาความสงสารได้ใหญ่หลวงขนาดนั้น ? คำตอบที่ผมหาได้ คือ เพราะเมตตาความรักความปรารถนาดีที่มีต่อกันมายาวนานระหว่างพระกับชาวบ้านมันลึกซึ้ง เมื่อรักลึกซึ้ง ความสงสารยามที่คนที่เรารักประสบทุกข์ก็ย่อมลึกซึ้งตามไปด้วย
นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าอภัย เพราะในสังคมของ อ.สุจินต์อาจจะมีเมตตา แต่จะมีคนประสบทุกข์ใหต้องกรุณากันขนาดนี้หรือไม่ ?
@ สรุป
ร่ายมาเสียยาวก็อยากจะสรุปว่า
. ด้านพระวินัยพระเป็นอาบัติแน่ แต่เมื่อเทียบเคียงกับสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัติตามหลักมหาปเทส(ข้ออ้างหรือหลักฐานสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้)แล้วเบื้องต้นก็ปรับได้แค่อาบัติทุกกฏ
ทุกวันนี้ พระอาจจะต้องอาบัติได้ง่าย เพราะสภาพสังคมพาให้เป็นประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งพระพลาดเอง ดังนั้น พระอาจต้องอาบัติกับเรื่องที่เป็นประโยชน์เฉพาะตนมานานแล้ว เช่น ดูทีวี จับเงิน คราวนี้หากจะต้องอาบัติเพื่อประโยชน์แก่สังคมที่ไม่ถึงขั้นสูญเสียความเป็นพระก็น่าเสี่ยงดู เพราะอะไร ? (ดูข้อที่ ๒ ครับ)
๒. ด้านพระธรรม ท่านแสดงออกถึงเมตตากรุณาอย่างลึกซึ้งที่คนดีพึงมีต่อกัน และธรรมนี้แหละจะพัฒนาตนพัฒนาใจพัฒนาวิสัยทัศน์ให้รู้จักช่วยสังคม แล้วสังคมจะมาช่วยพระช่วยรักษาพระศาสนา มหาวิทยาลัยนาลันทาถูกเผาก็เพราะพระไม่เอาสังคมนี่แหละเป็นเหตุใหญ่
@ ข้อสังเกต
อยากให้ข้อสังเกต การต้องอาบัติอย่างทุกกฏนั้นหลีกเลี่ยงได้ยากมาก พระอริยะหลายรูปทำกิจกรรมบางอย่างด้วยจิตเป็นกุศลก็ยังไม่พ้น เช่น
พระอานนท์ก็เคยถูกสงฆ์ปรับเป็นอาบัติทุกกฏ เพราะขณะที่เย็บจีวรถวายพระพุทธเจ้า ท่านใช้เท้าเหยียบจีวร คณะสงฆ์ทราบความจึงปรับอาบัติทุกกฏย้อนหลัง เพราะทำไม่เรียบร้อย ทำให้คนมองว่าท่านไม่เคารพพระพุทธเจ้า
เอาละครับ ยอมให้ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระสงฆ์ที่ช่วยชาวบ้าน แต่ยอมให้ไม่ได้ หากใครจะมองข้ามเจตนาดีของท่านไป คือต้องการช่วยชาวบ้านที่กำลังทุกข์ให้พ้นทุกข์

 



@ สุดท้าย
ประเด็นการพูดแสดงความเห็นมของ อ.สุจินต์ เป็นแค่วิวาทะ (พูดต่างออกไป) แต่ไม่ใช่วิวาทะประเภทขัดแย้ง 
เป็นแค่สะท้อนว่า การมุ่งเอาวินัยเป็นเรื่องดี แต่ไม่คำนึงถึงธรรมะด้วยก็เป็นอย่างนี้แหละ บางทีอาจสุดโต่ง เพราะจิตจะให้แค่ดี-ชั่วไม่พอ ยังต้องมีดีปนชั่วหรือชั่วปนดีด้วย เพราะสติของปุถุชนอย่างเราไม่สามารถกันกิเลสออกจากกุศลธรรมได้สมบูรณ์ ยังต้องมีกิเลสแทรกเข้ามาปนจนได้ ไม่อย่างนั้นปัญญาคงไม่สำแดงความฉลาดแกมโกงออกมา ฉลาดเป็นเรื่องของปัญญา แต่โกงเป็นเรืองของโลภะความอยากได้มากเกินไปจึงต้องไปโน้มปัญญาให้ทำตามความต้องการของโลภะ แม้ผิดก็ยอม
อ.สุจินต์เกิดในสังคมชั้นสูงไม่มีความสัมพันธ์กับคนทุกข์ยากสักเท่าไร เรียนรู้และปฏิบัติธรรมมุ่งเอาความบริสุทธิ์ของตัวเองเป็นสำคัญ 

 สิ่งที่น่ายกย่องคือสอนธรรมะประเภทปรมัตถสัจจะไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขามานาน จึงอาจทำให้ท่านมองข้ามสมมติสัจจะซึ่งยังมีความสำคัญในการทำความเข้าใจเพื่อการอยู่ร่วมกันและการบำเพ็ญบารมีสู่ความพ้นทุกข์ถาวร ซึ่งยิ่งต้องให้อภัยท่านมากขึ้น


3 ความคิดเห็น

  1. #สรุป
    #เดือนนี้เป็นเดือนของคำว่า(แม่)
    #ขอเขียนแค่ห้อมหอมปลายหัตถา
    #นางดราม่ายอมเป็นคนหนักแผ่นดิน

    ตอบลบ
  2. มนุษย์ป้า อาจจะเข้าใจอะไรได้บ้าง ถ้ามีโอกาสได้อ่านความจริงจากบทความนี้ค่ะ

    ตอบลบ
  3. มุ่งเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องก่อนสิ่งอืนใด พระท่านปลงอาบัติทีหลังได้ ไม่การผิดวินัยอย่างร้ายแรง

    ตอบลบ