ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

"วัด" เป็นยิ่งกว่าโรงเรียน..สอน"ทุกสรรพวิชา"แห่งชีวิต ตั้งแต่ "เกิด จนกระทั่ง ตาย" ผิดตรงไหน..ที่โรงเรียนก็ตั้งอยู่ในพื้นที่วัด และมีคำว่า "วัด" เป็นชื่อโรงเรียน?

"วัด" เป็นยิ่งกว่าโรงเรียน..สอน"ทุกสรรพวิชา"แห่งชีวิต ตั้งแต่ "เกิด จนกระทั่ง ตาย"

ผิดตรงไหน..ที่โรงเรียนก็ตั้งอยู่ในพื้นที่วัด และมีคำว่า "วัด" เป็นชื่อโรงเรียน?

ทำไมจึงไม่อยากมีคำว่า “ วัด” ในชื่อโรงเรียน?

 ได้มีโรงเรียนหลายแห่งเปลี่ยนชื่อโดยเอาคำว่า วัด ออก โรงเรียนที่เปลี่ยนชื่อนั้นฝ่ายผู้บริหารโรงเรียน หรือผู้ปกครอง มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อชื่อวัดนำหน้า โดยคิดว่าเป็นโรงเรียนชั้นสอง และไม่นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนวัด  ปัญหามันอยู่ที่ระบบหรือเพราะชื่อวัดกันแน่

วัดกับโรงเรียนเราแยกกัน ยาก เพราะมีส่วนร่วมทั้งทางประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม
 ในอดีต ไม่ว่าศาสนาไหน ศาสนสถานของศาสนานั้นเป็นแหล่งของนักปราชญ์ ของผู้รู้ เพราะ นักบวชจะได้รับการศึกษาเกี่ยวกับคัมภีร์ และจะสอนสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่น คนที่มีการศึกษาในยุคก่อนในยุโรป จึงกระจุกตัวอยู่แค่ คนชั้นสูง และนักบวชเท่านั้น  จนเมื่อระยะยุคกลาง ในศตวรรษที่ 12 และ 13  จึงมีการสนับสนุนให้คนธรรมดาเข้ามาศึกษามากขึ้น
 ในประเทศไทยก็เช่นกัน ถ้าในหลวงรัชกาลที่ 5 ไม่ทรงโปรดฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ
พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น เพื่อให้บุตรหลานของเหล่าราษฎรได้เล่าเรียน คนไทยคงไม่มีโอกาสได้เล่าเรียนกันสืบต่อมา







 ในปี 2427 มีการตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ โรงเรียนหลวง สำหรับราษฎร ได้ตั้งขึ้นตามวัดหลายแห่งทั้งในพระนคร และตามหัวเมืองสำคัญ ๆ ดังนั้น โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรกจึงถือกำเนิดขึ้น ที่กรุงเทพฯ นี่เอง ณ วัดมหรรณพาราม ถนนตะนาว ตำบลเสาชิงช้า อำเภอพระนคร
 โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎร แห่งแรกนี้ ก็คือ “โรงเรียนวัดมหรรณพาราม” เดิมชื่อ “โรงเรียนวัดมหรรณพ์” โดยเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาแบบสหศึกษา
ซึ่งวัดต่างๆ ก็ได้อนุเคราะห์ให้โรงเรียนตั้งในเขตวัด เขตธรณีสงฆ์ ในระยะแรก พระท่านได้เข้ามาสอนกุลบุตรเพราะครูไม่เพียงพอ จนค่อยๆ ถอยออกไป เหลือแค่ มาเป็นพระอาจารย์สอนศีลธรรมในบางโรงเรียน แม้กระนั้น วัดต่างๆ ก็ยังได้อนุเคราะห์ จัดหาอุปกรณ์การศึกษา มีการจัดผ้าป่า มอบทุนการศึกษาให้เด็กเรียนดี ฯลฯ
 แต่ภาพพจน์ของโรงเรียนชั้นสอง เกิดขึ้นภายหลัง ภาพพจน์ของโรงเรียนใกล้บ้าน โรงเรียนวัดกลับกลายเป็นที่รังเกียจ แทนที่หน่วยราชการจะแก้ที่ระบบการศึกษาที่ล้มเหลวกลับ แก้ปัญหาง่ายๆ เช่นเดิม ตัดชื่อวัด ออก ทั้งที่ วัดให้อุปถัมภ์ค้ำชูมาตลอด วัดไม่ได้เหมือน ศาสนาสถานของต่างศาสนา ที่จะดำเนินการโรงเรียนเหมือนธุรกิจเบ็ดเสร็จ หากวัดทำเช่นนั้น คงมีเสียงลือกระหึ่มว่า วัดไม่เมตตา ไม่ช่วยเหลือคน
 หรือเราจะปล่อยให้แก้ปัญหาง่ายๆแบบไทยๆ เอาชื่อโรงเรียนดังๆ มาแล้วก็ใส่เป็นสาขา 1 สาขา 2 ผลักดันเป็นโรงเรียนลูก หรืออยากให้ดี ก็ เอา คำว่า เซนต์ มานำ เช่น โรงเรียนสตรีวัดระฆัง ก็เป็นโรงเรียนเกิร์ลเซนต์จิงกะเบล โรงเรียนวัดสระเกศ ก็เป็นโรงเรียลเซนต์โกลเดนท์เมาท์เทน ฟังดูโก้หรูไม่เบา เราจะเอาอย่างนั้นกันไหม


 ฝากเป็นคำถามถึงผู้บริหารโรงเรียน กระทรวงศึกษา ว่า ถ้าโรงเรียนไหนรังเกียจชื่อวัดนัก ก็ย้ายโรงเรียนออกจากวัด อย่าเปลืองที่วัดเลย วัดท่านจะได้นำที่ไปประกอบศาสนกิจอย่างอื่นได้ อย่าปั่นกระแส เอาเด็กมาอ้าง ต้องเป็นประชาธิปไตย อย่างนี้นก็ปล่อยให้เด็ก เลือกอาจารย์เองไม่ เลือกผู้อำนวยการเอง เลือกรัฐมนตรีศึกษาธิการเองไหม ประชาธิปไตยดี

  การที่คณะสงฆ์ ขอให้รักษา คำว่าวัด ไว้ เชื่อมกับโรงเรียน เพราะโรงเรียนมาอาศัยอยู่ในที่ธรณีสงฆ์ ขอแค่นี้ให้กันไม่ได้หรือ
คนไทยสมัยนี้มักง่าย ยึดถือกับสิ่งที่ไร้สาระ ทั้งที่บรรพบุรุษ ที่รักษาแผ่นดินไทยให้เจริญมาถึงปัจจุบันนี้ ก็เป็นลูกศิษย์ วัด กินข้าวก้นบาตรมาทั้งนั้น

 หากระบบการศึกษาดีจริง ชื่ออะไรก็ดีทั้งนั้น การได้เรียนโรงเรียนวัด ควรจะภาคภูมิใจด้วยซ้ำ ที่ได้เรียนในโรงเรียนที่สอนวิชาศีลธรรมที่แท้จริง อยู่ใกล้แหล่งเนื้อนาบุญ ได้พบเห็นสมณะในทุกๆวันที่มาเรียน ได้ประกอบกิจทางพระพุทธศาสนาได้อย่างไม่ขาด ได้เห็นต้นบุญต้นแบบในการประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคม ของชาติสืบไป
Cr : ดินสอสีฟ้า
ขอบคุณรูปภาพจาก Google.com
ข้อมูลบางส่วนจาก teen.mthai.com/education

1 ความคิดเห็น