ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

วิเคราะห์ข่าวดัง เชื่อมโยงวัดพระธรรมกายกรณี ศาลแพ่งสั่ง "ศุภชัย" ชดใช้เงิน 3.8 พันล้านคืนสหกรณ์คลองจั่นฯ

วิเคราะห์ข่าวดัง เชื่อมโยงวัดพระธรรมกาย
กรณี ศาลแพ่งสั่ง "ศุภชัย" ชดใช้เงิน 3.8 พันล้านคืนสหกรณ์คลองจั่นฯ


ข้อสังเกตจากเนื้อข่าว 

1. สหกรณ์ถอนฟ้องหลวงพ่อธัมมชโยกับวัดพระธรรมกายก่อนหน้าแล้ว
- ระหว่างพิจารณาโจทก์ขอถอนฟ้องจําเลยที่ 4, 5, 6, 30 และวัดพระธรรมกาย กับพระราชภาวนาวิสุทธิ์ หรือพระญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 31-32

2. ศาลแพ่งใช้หลักตัดสินตามระเบียบสหกรณ์ข้อที่ 20 การจ่ายเงินต้องจ่ายเฉพาะกิจการภายในของสหกรณ์เท่านั้น
"ศาลแพ่ง" พิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว เห็นว่า ตามระเบียบของสหกรณ์โจทก์ ข้อ 20 กําหนดไว้ว่าการจ่ายเงิน ให้จ่ายเฉพาะเพื่อกิจการภายในขอบวัตถุประสงค์และเป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ แต่ปรากฏว่า "นายศุภชัย" อดีตปธ.สหกรณ์ จําเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค 878 ฉบับ โดยระบุในใบสําคัญจ่ายว่าเป็นเงินทดรองจ่ายให้กับ จําเลยที่ 1 จึงไม่ใช่การจ่ายเพื่อกิจการภายในขอบวัตถุประสงค์สหกรณ์โจทก์ การกระทําที่ผิดระเบียบของจําเลยที่ 1 เป็นการกระทําทุจริตแสวงหาประโยชน์มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสําหรับตนเองและผู้อื่น โจทก์ในฐานะ เจ้าของเงินตามเช็คซึ่งจําเลยที่ 1 ได้สั่งจ่าย จึงมีสิทธิติดตามเอาเงินตามเช็คพิพาท 878 ฉบับคืนได้

- กรณีนี้มีข้อสังเกตว่า การจ่ายเช็คเพื่อบุคคลภายนอก แม้แต่การบริจาคเพื่อการกุศล ก็ถือว่าผิดวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ แต่กรณีของวัดพระธรรมกายและหลวงพ่อธัมมชโย สหกรณ์ได้ถอนฟ้องไปนานแล้ว เพราะลูกศิษย์ตั้งกองทุนคืนเงินให้สหกรณ์แล้ว เจ้าของทรัพย์ถือว่าไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นแก่สหกรณ์ จึงได้ถอนฟ้องไป
- เรื่องนี้เป็นข้อเตือนใจว่า วัดต่างๆ เวลารับเงินบริจาคต้องดูให้ดีว่าเป็นการจ่ายเช็คในนามสหกรณ์ ในนามบริษัท หรือในนามของธนาคารเพื่อทำบุญกับวัดของตนนั้น ผิดวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นหรือไม่ มิฉะนั้น อาจตกเป็นจำเลยโดนฟ้องเรียกเงินทำบุญคืนโดยไม่รู้ตัว

3. การฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืน ไม่ถือว่าขาดอายุความ
"โจทก์" ฟ้องเรียกเงินคืนจากจําเลยและจําเลยร่วม เนื่องจากจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 3 ร่วมกัน สั่งจ่ายเช็คของโจทก์โดยไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของโจทก์และเป็นการผิดระเบียบข้อบังคับของโจทก์นั้น จึงเป็นการฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกําหนดอายุความ ไม่ใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดหรือลาภมิควรได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
4.เงินที่ปปง. ยึดและอายัดไว้ โจทก์ต้องไปพิสูจน์สิทธิ์ต่อไป (ว่าเงินนั้นเป็นของโจทก์จริงและ ปปง.สมควรคืนให้แก่โจทก์ เพื่อจะได้นำมาพยุงกิจการของสหกรณ์ให้พ้นจากการขาดสภาพคล่องและดำเนินการต่อไปได้)



5. เมื่อสหกรณ์ถอนฟ้องหลวงพ่อธัมมชโยและวัดพระธรรมกายไปนานแล้ว เจ้าหน้าที่รัฐอาศัยอำนาจใดมาดำเนินคดีกับวัดพระธรรมกายจนถึงขั้นปิดล้อมวัด??
6. การที่โจทก์ฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ใช่มูลเหตุอันจะตั้งข้อหาฟอกเงินจากผู้รับบริจาคเงินเพื่อการกุศลได้ แล้วเจ้าหน้าที่รัฐตั้งข้อหาฟอกเงินกับหลวงพ่อธัมมชโยได้อย่างไร เหตุใดจึงกล่าวหาไปก่อนโดยไม่มีมูลฐานที่สมควรแก่เหตุในการตั้งข้อหา

เครดิต : Ptt Cnkr
ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook
ที่มา thairath.co.th








1 ความคิดเห็น